ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ 1

ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ

การออกแบบกราฟิก ( Graphic Design )

                งานกราฟิกส่วนใหญ่เป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ต้องการสัมผัสรับรู้ด้วยตา ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร วารสาร แผ่นป้ายโฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ ภาพยนตร์ นักออกแบบจะใช้วิธีหาการทางศิลปะและหลักการทางออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้องค้นหา รวบรวมวิธีต่างๆขบคิดแนวทางและวางรูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดการรับรู้ยอมรับ และมีทัศนคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น

                วิธีการออกแบบ และวิธีแก้ปัญหาการออกแบบโดยการนำรูปแบบโดยการนำเอารูปภาพประกอบ ภาพถ่าย สัญลักษณ์ รูปแบบและขนาดของตัวอักษร มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการสื่อความหมาย และแสดงคุณค่าทางการออกแบบอย่างตรงไปตรงมางานออกแบบกราฟิกจึงมีลักษณะเฉพาะซึ่งมีวิธีการและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากงานวิจิตรศิลป์ แต่ในบางกรณีผู้ออกแบบก็อาจจะสอดแทรกงานศิลปะแท้ๆ เข้าไปเป็นส่วนส่วนหนนึ่งของการออกแบบกราฟิกเพื่อใช้สำหรับกระบวนการสื่อสาร การเรียนรู้ การตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ซึ่งอาจรวมกันเรียกว่าเป็นประยุกต์ศิลป์ ถ้าเป็นงานที่มีลักษณะเน้นหนักไปทางด้านธุรกิจ การพาณิชย์ ก็เรียกว่าเป็นงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ และถ้าเป็นการเน้นวัตถุในแง่ของการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการสื่อความหมายก็ความหมายก็จะรวมเรียกว่าเป็นงานออกแบบทัศนะสื่อสาร

ความหมายของการออกแบบ (Definition of  Graphic Design)

                ได้มีผู้ให้ได้ความหมายของคำว่า กราฟิก ไว้อยู่หลายความหมายด้วยกันในสมัยโบราณหมายความถึงภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด ขากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางภาพหรือแผนภาพ การวาดเขียนระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆในที่เป็นวัตถุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่นงานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัดภาพและรายละเอียดบทแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิก การเขียนภาพเหมือนจริงของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลาก หรือลวดลายหรือภาพประกอบ หรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนตัวภาชนะบรรจุสินค้า เหล่านี้ถือว่าเป็นงานกราฟิกทั้งสิ้น

                คำว่าการออกแบบ ก็มีความหมายเป็นหลายนัยเช่นกัน จากลากศัพท์ลาตินคำว่า Design ซึ่งมาจาก Designare หมายถึงกำหนดออกมา กะหรือขีดหมายเอาไว้ เป้าหมายที่แสดงออกหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอำนาจความคิดอันอาจเป็นโครงการ  รูปแบบหรือแผนผังที่ศิลปินกำหนดขึ้นด้วยการจัดท่าทาง  ถ้อยคำ  เส้น  สี  รูปแบบ  โครงสร้างและวัสดุต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ทางความงามหรือสุนทรียุ่งยากสลับซับซ้อนเต็มที่

                ปี 1950 Alexander ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “Design” ว่าหมายถึง การค้นหาส่วนประกอบทางด้านร่างกายอันถูกต้องของรูปธรรมและโครงสร้าง

                ปี 1962 Asimor  กล่าวว่า การออกแบบหมายถึง การตัดสินสั่งการสำหรับโฉมหน้าที่ไม่แน่นอนคือการตัดสินใจที่แน่นอนโดยไม่ต้องการความผิดพลาด

                ปี 1964 Booker  หมายถึง  การลงมือทดลองทำก่อนเพื่อความแน่ใจในผลสุดท้าย

                ปี 1965 Archer  หมายถึง  กิจกรรมทางด้านแก้ปัญหาโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน

                Reswick  หมายถึง  กิจกรรมที่สร้างสรรค์ เป็นการรวบรวมเอาสิ่งใหม่และมีประโยชน์

                ปี 1966  Grogory  กล่าวว่า  การออกแบบเป็นผลิตผลที่สัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ

                Jone กล่าวว่า  เป็นกระบวนการกระทำสิ่งที่ยุ่งยากเพื่อให้เกิดความเชื่อถือ

                ปี 1968 Matchett  หมายถึง  การแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นผลสรุปของความต้องการในสถานการณ์หนึ่งสถานการณ์ใด

                อารี  สุทธิพันธุ์  หมายถึง  การสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อประโยชน์และความงามด้วยการนำส่วนประกอบของการออกแบบมาใช้ (Elements of Design) และหมายถึง การปรับปรุงของเดิมที่มีอยู่แล้วดัดแปลงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (Organize and Reorganize)

                ประพันธ์  บุญเลิศ หมายถึง การสร้างสรรค์ปรุงแต่งด้วยส่วนประกอบของศิลปะ เช่น  เส้น  สี  แสงและเงา  ลักษณะผิว  ขนาดรูปร่าง  ทิศทาง  น้ำหนัก  เพื่อให้เกิดรูปทรงใหม่ตามความต้องการ  ให้มีความงามและประโยชน์ที่จะนำมาใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์

                เมื่อพิจารณาถึงความหมายของคำทั้งสองคำเมื่อนำมารวมกันก็พอจะสรุปความหมายได้ว่า

การออกแบบกราฟิก หมายความถึง 

                1.  การใช้ความคิดและสามัยสำนึกในการทำงานที่ได้วางแผนไว้ให้ได้ตามที่คาดหมายอย่างสมบูรณ์

                2.  การถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นโครงสร้างระเบียบแบบแผนต่างๆทางทัศนะสัญลักษณ์

                3.  เป็นการออกแบบเพื่อให้อ่าน เช่น ออกแบบหนังสือ นิตยสารโฆษณา หีบห่อ ป้ายภาพยนตร์ โทรทัศน์ โปสเตอร์ แผ่นพับ นิทรรศการ

คุณค่าของงานกราฟิก

                จะเห็นได้ว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสิ่งต่างๆ จากอดีตสู่ปัจจุบัน จากปัจจุบันสู่อนาคตมีผลกระทบโดยตรงที่จะทำให้งานออกแบบกราฟิกมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ระบบการสื่อสาร การสร้างสรรค์และการจรรโลงสภาพสังคมให้เล็งเห็นถึงคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ งานกราฟิกชิ้นเยี่ยมที่แสดงให้เห็นความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดยตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูลเกิดความสนใจและยอมรับ และในขณะเดียวกันก็ยังแสดงคุณค่าอื่นพร้อมกันไปด้วย ได้แก่

                1.  เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกันจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้อย่างชัดเจน

                2.  สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี

                3.  ช่วยให้เกิดความน่าสนใจ ความประทับใจ และความน่าเชื่อถือแกผู้บริโภค

                4.  ทำให้เกิดความกระตุ้นทางความคิดและการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว

                5.  ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ข้อมูลที่ได้จากงานออกแบบกราฟิกจะช่วยกระตุ้นให้ปฏิบัติจามหรือประพฤติตามหรือเปลี่ยนพฤติกรรมทางความคิดได้ด้วย

นักออกแบบกราฟิก ( Graphic Designer )

                งานออกแบบกราฟิกมีขอบข่ายกว้างขวาง นักออกแบบจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านกราฟิกเป็นอย่างดี เพื่อที่จะสร้างแนวความคิดและจัดเสนอรูปแบบกราฟิกให้สอดคล้องกับสื่อลักษณะต่างๆต้องมีความเข้าใจถึงระบบการสื่อสารและกระบวนการผลิตสื่อเพื่อการสื่อความหมายโดยถ่องแท้ งานกราฟิกไม่ใช้งานโฆษณา ไม่ใช่งานตลาด ไม่ใช่งานประชาสัมพันธ์ และงานกราฟิกก็ไม่ใช่งานศิลปะอย่างแท้จริง นักออกแบบกราฟิกจะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจพื้นบานในหลายๆด้านมาประกอบกับที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้สามารถดำเนินการผลิตในกระบวนการต่อไปได้ตามเจตนารมณ์ และแสดงบทบาทของการเป็นตัวกลางที่จะนำเสนอข้อมูลสาระต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการผลักดันในการกระตุ้นการเห็น การรับรู้ และการสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งนั้น ปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆย่อมอยู่ในความคิดของนักออกแบบที่จะละเลยเสียมิได้ การปรุงแต่งงานออกแบบจะต้องสอดคล้องกับหลักปรัชญาการออกแบบ ซึ่งได้แก่

1.  ก่อให้เกิดประโยชน์และแสดงศักยภาพในหน้าที่ได้โดยตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด

2.  ต้องสามารถแสดงคุณค่าในด้านสุนทรียศาสตร์ได้อย่างดี

                3.  มีรูปแบบที่ทันสมัย

                4.  มีความประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุดและส่งผลตามวัตถุประสงค์ได้มากที่สุด

                5.  มีรูปแบบที่แสดงถึงสัญลักษณ์และลักษณะเฉพาะอันสอดคล้องกับลักษณะศิลปวัฒนธรรมของชาติ

อิทธิพลของศิลปะในการออกแบบกราฟิก

                เพื่อให้งานกราฟิกมีคุณค่าทางความงาม มีความน่าเชื่อถือและสามารถแสดงเอกภาพของการสื่อความหมายได้อย่างเต็มที่ องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยทำให้งานออกแบบกราฟิกมีความโดดเด่นและน่าสนใจนักออกแบบจึงใช้หลักและวิธีการทางศิลปะเป็นแนวทางในการออกแบบโดยพิจารณาจากหลักการต่อไปนี้

                1.  รูปแบบตัวอักษรและขนาด การสร้างรูปแบบตัวอักษรให้มีรูปแบบที่แปลกตา สวยงาม จะช่วยเร่งเร้าความรู้สึกตอบสนองได้เป็นอย่างดี ในการกำหนดแบบของตัวอักษรบนงานกราฟิกผู้ออกแบบจะต้องเน้นความสวยความชัดเจนสวยงามอ่านง่ายและสอดคล้องกับโครงการออกแบบนั้นๆด้วย นักออกแบบจะต้องพิจารราเรื่องรูปแบบสำหรับข้อความนำเรื่อง และข้อความรายละเอียดไปพร้อมๆกัน นอกจากรูปแบบตัวอักษรแล้ว การกำหนดขนาดของตัวอักษรที่มีความสำคัญไม่น้อยเลย ขนาดตัวอักษรทุกส่วนบนชิ้นงานต้องมีความพอเหมาะที่ต้องอ่านได้ง่าย ตัวอักษรที่มีขนาดเล็กมากอาจเป็นอุปสรรคในการสื่อความที่ดี ความกว้างและความสูงพอเหมาะก็ให้รูปแบบดูง่ายขึ้น นอกเหนือจาดที่กล่าวมาแล้วการจัดวางรูปแบบข้อความที่สอดคล้องกับความเคยชินในการอ่านโดยปกติก็จะเป็นสาระที่ควรคิดด้วนในการออกแบบ

                2.  การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง  การจัดพื้นที่ว่างในการออกแบบกราฟิก  มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการจัดระเบียบของข้อมูล  ช่วยการเน้นความชัดเจนและความเป็นระเบียบมากขึ้น  ระยะห่างหรือพื้นที่ว่างจะช่วยพักสายตาในการอ่าน  ทำให้ดูสบายตา  สร้างจังหวะลีลาขององค์ประกอบภาพให้เหมาะสมและสวยงาม

                3.  การกำหนดโครงสี  สีที่มีบทบาทอย่างยิ่งที่จะช่วยเน้นความชัดเจนทำให้สะดุดตา  สร้างสรรค์ความสวยงาม  การกำหนดโครงสีจะใช้วิธีการใดก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของงานนั้นๆ ข้อคำนึงสำคัญคือสีบนภาพ  พื้นภาพและบนตัวอักษรต้องมีความโดดเด่น  ชัดเจน  เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีความสนใจและความชอบที่แตกต่างกันไป  นักออกแบบอาจใช้หลักการทางทฤษฎีสีผสมผสานกับหลักจิตวิทยาการใช้สีในการจัดโครงสีบนชิ้นงานเพื่อเป้าหมายการตอบสนองที่ดีที่สุด

                4.  การจัดวางตำแหน่ง  หมายถึงการออกแบบจัดโครงร่างทั้งหมดที่จะกำหนดตำแหน่งขนาดของภาพประกอบ  ตำแหน่งของข้อความทั้งหมดและส่วนประกอบอื่นๆ ที่ปรากฏ  ซึ่งผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดเด่นที่ควรเน้น  ความสมดุลต่างๆตลอดจนความสบายตาในการมอง  นักออกแบบจะต้องให้ความสำคัญต่อสาระทุกส่วนที่ปรากฏบนชิ้นงานเท่ากันหมด  ความพอเหมาะพอดีขององค์ประกอบตำแหน่งต่างๆ จะทำให้งานกราฟิกเป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น

การออกแบบกราฟิก

                เพื่อให้สามารถแสดงบทบาทของการออกแบบอย่างเต็มที่ และบรรลุวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์ หรือการโฆษณาสินค้าใดก็ตาม  การออกแบบจึงเป็นหัวใจของชิ้นงานกราฟิกอย่างมาก  คุณค่าจะส่งผลมากหรือน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพ  จึงอาจกล่าวได้ว่างานกราฟิกต้องมีการออกแบบที่ดีด้วย  ในการออกแบบจึงควรได้พิจารณาสิ่งต่อไปนี้

                1.  ความง่าย  งานกราฟิกใดไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอในรูปแบบใดก็ตามกราฟิกนั้นอาจเป็นแผนภูมิ  แผนภาพ  ไดอะแกรม หรืออื่นๆ การออกแบบจะต้องทำภายในเนื้อที่ซึ่งมีความจำกัด  มีขอบเขตความกว้างความยาวชัดเจน  การออกแบบจะต้องเป็น ความง่าย

                1.1  ง่ายต่อการนำไปใช้  มีขนาดพอเหมาะ  ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป

                1.2  ง่ายต่อการผลิต  การผลิตไม่ยุ่งยากสับสน

                1.3  ง่ายต่อการสื่อความหมาย  มีภาพชัดเจน  ตัวอักษรอ่านง่าย  ข้อความกระชับเข้าใจ

                2.  ความเป็นเอกภาพ  เอกภาพในที่นี้หมายถึง  สิ่งที่ช่วยให้ชิ้นงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์นั้นๆ ความเป็นเอกภาพจะครอบคลุมถึงเรื่องของความคิดและการออกแบบ หรือ Unity of Idia and Unity of Design

                3.  การเน้น  ภายในเนื้อที่อันจำกัดนั้นจะต้องมีการเน้น  การเน้นจะเป็น ณ จุดใดจุดหนึ่งที่เห็นว่ามีความสำคัญ  อาจกระทำได้ด้วยภาพหรือด้วยข้อความก็ได้โดยมีหลักว่า ความคิดเดียวและจุดสนใจเดียว (One Concept and One Interested)  การมีหลายความคิด หรือนำเสนอหลายจุดสนใจ จะทำให้การออกแบบล้มเหลวเพราะหาจุดเด่นชัดไม่ได้  ภาพรวมจะไม่ชัดเจนขาดเอกลักษณ์ของความเป็นผู้นำในตัวสินค้าหรือความเป็นหนึ่งของสื่อ  นอกจากนี้ยังอาจจะเป็นในส่วนของขนาด  สี  แสง หรือทัศนมิติ ก็ได้

                4.  ความสมดุล  ความสมดุลในงานกราฟิกเป็นเรื่องราวของความงามและความน่าสนใจ  ความสมดุลในที่นี้ควรพิจารณาที่การออกแบบว่าต้องการอย่างไร  ต้องการให้เกิดอารมณ์อย่างไร  เรียบง่าย  สบายตา หรือว่าเร้าใจเกิดการกระตุ้นและตื่นเต้น  ความสมดุลสามารถเสนอได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ความสมดุลตามแบบและความสมดุลนอกแบบ หรือความสมดุลสร้างสรรค์  ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึงเรื่องของความงามอันเกิดจากเส้น  สีสัน  ลักษณะช่องไฟ  รูปแบบของภาพ  ขนาดของตัวอักษรด้วย

แนวสร้างสรรค์งานกราฟิก

                งานกราฟิกที่น่าสนใจจะต้องมีเอกลักษณ์ของตัวเองที่ชัดเจน  การออกแบบจะเป็นตัวสนับสนุนในงานน่าสนใจเพียงใด  ความสำเร็จของธุรกิจสื่อโฆษณา หรือกลยุทธ์ทางการสื่อความหมาย  จึงต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบอย่างมากเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้สนใจงานโฆษณา และการสร้างสรรค์งานออกแบบกราฟิกทั่วไป  จึงขอเสนอรูปแบบขององค์ประกอบศิลป์  สำหรับงานกราฟิกเพื่อพิจารณา

                1.  แบบแถบตรง (Band)  เป็นองค์ประกอบที่กำหนดเพื่อหาสาระรายละเอียดที่ต้องการนำเสนอเข้าด้วยกันให้อยู่ในขอบเขตในแนวดิ่งตรง

                2.  แบบแกน (Axial)  เป็นลักษณะที่มีแกนกลาง และมีสาขาแยกย่อยออกไป  โดยเน้นจุดเด่นที่แกน  กิ่งก้านสาขาจะช่วยเป็นตัวองค์ประกอบเสริมให้จุดเด่นมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

                3.  แบบตาราง (Grid)  เป็นองค์ประกอบที่มีลักษณะเป็นตารางเล็กใหญ่สลับกับภาพในเนื้อที่ที่กำหนด

                4.  แบบกลุ่ม (Group)  เป็นลักษณะการจัดรวมเป็นกลุ่มไม่ควรเกิน 3 กลุ่มในชิ้นงาน และมีขนาดแตกต่างกัน  โดยคำนึงถึงเรื่องการกำหนดพื้นที่ว่าง (Space) ด้วย

                5.  แบบต่อเนื่อง (Path)  คือองค์ประกอบที่จัดวางให้มีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน  โดยคำนึงเรื่องจังหวะและลีลาของรูปทรงส่วนรวมกับพื้นที่ว่างด้วย

                6.  แบบตัวอักษร (Lettering)  อาจจัดเป็นแบบรูปทรงตัวอักษรอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีรูปร่างสวยงาม  เช่น  แบบตัวที (T)  แบบตัวไอ (I)  แบบตัวเอช(H)  แบบตัวเอส(S) หรือแบบตัวแซท(Z) ก็ได้

จิตวิทยาในการใช้สี

                ความพึงพอใจ  ความชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับสีแต่ละสีของคนแต่ละคน แต่ละกลุ่มเป้าหมาย  มีส่วนที่จะชักจูงให้เกิดความรู้สึกสนใจและเข้าใจถึงคุณค่าของภาพเหล่านั้น  สามารถตอบสนองแรงกระตุ้นได้ตามวัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายที่สำคัญของงานออกแบบทีเดียว  มีทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องสีที่จะช่วยให้ความกระจ่างในเรื่องของความหมายและอิทธิพลของสีที่มีต่อการรับรู้ต่อทัศนภาพที่ปรากฏ  เพื่อให้สามารถสื่อความหมายกันได้อย่างดี  เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมีอยู่ 4 ทฤษฎี คือ

                1.  ทฤษฎีตามหลักวิชาฟิสิกส์  อธิบายความหมายของสีจากการมองเห็นโดยมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องแสง  ตามทฤษฎีสีนี้  สีหมายถึงส่วนประกอบของสเปคตรัม (Spectra Composition) แม่สีแสงนี้ประกอบไปด้วยสี 3 สี ได้แก่ Red  Green  Blue  ถ้านำเอาแสงของสีทั้งสาม มาผสมกันจะได้สีใหม่อีก 3 สี  ดังนี้

                RED + BLUE                                       =  MAGENTA

                BLUE + GREEN                 =  CYAN

                GREEN + RED                                   =  YELLOW

                และ

                RED + GREEN + BLUE                   =  WRITE

                2.  ทฤษฎีสีตามหลักวิชาเคมี  อธิบายความหมายของสีตามคุณสมบัติทางเคมีที่ปรากฏ คือเป็นส่วนที่ผสมที่ย้อมขึ้น (DYE) หรือเป็นเนื้อแท้ของสี (Pigment) ซึ่งกำหนดแม่สีไว้เป็น 3 สีคือ  สีแดง  สีน้ำเงิน  ถ้านำเอาเนื้อสีมาผสมกันก็จะได้สีใหม่อีก 3 สี ดังนี้

                สีแดง                     +  สีเหลือง            =  สีส้ม

                สีเหลือง                 +  สีน้ำเงิน            =  สีเขียว

                สีน้ำเงิน                 +  สีแดง                 =  สีม่วง

                3.  ทฤษฎีสีหลักตามจิตวิทยา  เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอันเป็นแรงกระตุ้นหรือสิ่งเร้า  ตามทฤษฎีนี้จะอธิบายคุณสมบัติของสีตามสิ่งเร้าประเภทต่างๆ ที่มองเห็น  แม่สีตามทฤษฎีนี้ประกอบด้วย  สีเหลือง  สีเขียว  สีน้ำเงิน และสีแดง  และถ้านำสีทั้งสี่นี้มาผสมกันก็จะได้สีใหม่อีก 4 สี ดังนี้

                สีเหลือง                 +  สีเขียว                =  สีเขียวเหลือง

                สีเขียว                    +  สีน้ำเงิน            =  สีเขียวน้ำเงิน

                สีน้ำเงิน                 +  สีแดง                 =  สีม่วง

                สีแดง                     +  สีเหลือง            =  สีส้ม

                4.  ทฤษฎีสีของมันเซลล์ (สีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน)  ซึ่งอธิบายความหมายและคุณสมบัติของสีตามที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  มันเซลล์ (Munsell)  ศิลปินชาวอเมริกันได้กำหนดแม่สีขึ้นเป็น 5 สีด้วยกันคือ  สีแดง  สีเหลือง  สีเขียว  สีน้ำเงิน และสีม่วง  เมื่อนำมาผสมกันจะได้สีใหม่อีก 5 สีดังนี้

                สีแดง                     +  สีเหลือง            =  สีส้มหรือสีเหลืองแก่

                สีเหลือง                 +  สีเขียว                =  สีเหลืองเขียว

                สีเขียว                    +  สีน้ำเงิน            =  สีเขียวน้ำเงิน

                สีน้ำเงิน                 +  สีม่วง                 =  สีม่วงน้ำเงิน

                สีม่วง                      +  สีแดง                 =  สีม่วงแดง

การใช้สี

                แม้ว่าจะมีทฤษฎีเกี่ยวกับสีอย่างมากมายแตกต่างกันออกไปตามลักษณะการนำไปใช้ แต่ลักษณะเฉพาะหรือคุณค่าเฉพาะของสีแต่ละสีย่อมจะเป็นตัวแทนของอารมณ์ต่างๆ ในวัตถุที่มีสีปรากฏขึ้นในตัว  เมื่อสายตาได้สัมผัสวัตถุได้เห็นความแตกต่างหลากหลายของสีในวัตถุย่อมเกิดความรู้สึกต่างๆ ได้แก่  ตื่นเต้น  หนาวเย็นหรืออบอุ่น  อ่อนหวาน  นุ่มนวลหรือเข้มแข็ง และนอกจากความรู้ทั่วๆไปแล้ว ยังเป็นที่ยอมรับกันว่าสีเป็นสัญลักษณ์ของความคิดทางนามธรรมบางประการอีกด้วย  เช่น  ความสงบสันติ  การเคลื่อนไหว  อันตราย  ความตาย ฯลฯ  อิทธิพลของสีที่เกี่ยวเนื่องกับการรับรู้และการจดจำสิ่งต่างๆ รอบตัว  มีผลกระทบต่อระบบประสาทสัมผัสได้ดีกว่ารูปร่าง  ลายเส้น หรือถ้อยคำตลอดจนเป็นมโนทัศน์ต่างๆ การใช้สีในงานออกแบบย่อมจะต้องแสดงคุณค่าอย่างเด่นชัดในอันที่จะเชื่อมโยงส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระและจิตใต้สำนึกของคนให้รับรู้และเกิดทัศนคติอย่างใดอย่างหนึ่ง  อันเกี่ยวเนื่องกับความชอบและไม่ชอบของแต่ละคน  การมีความรู้และประสบการณ์ในการเลือกใช้สีของนักออกแบบจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เอกสารเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายตามต้องการได้ไม่ยากนัก  การเรียนรู้ถึงอิทธิพลที่มีต่อความรู้สึกของการมองสีแต่ละสี  จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาอย่างแท้จริง  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                สีแดง  เป็นสีของไฟ  การปฏิวัติ  ความรู้สึกทางกามรมณ์  ความปรารถนา  สีของความอ่อนเยาว์  ดังนั้นจึงเป็นที่ชอบมากสำหรับเด็กเล็กๆ สีแดงเป็นสีที่มีพลังมาก  สามารถบดบังสีอื่นๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสีพื้นหรือฉากหลัง (Back ground)

                สีเหลือง  เขียว และม่วงทุกระดับสี (Shades)  มีค่าสีแตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสีที่มาผสม  สีดังกล่าวอาจทำให้เกิดความรู้สึกในทางบวก  การแสดงออกเต็มไปด้วยความรู้สึกชาญฉลาด หรือให้ความรู้สึกในทางลบและเก็บกดก็เป็นด้วย

 

 

**ยังมีต่ออีกชุดง่ะ   ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ 1

 

 ——————-

ขอบคุงเพื่อนที่แสนดีของผม กี้ สำหรับข้อมูล

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ความรู้เกี่ยวกับ ออกแบบนิเทศศิลป์(เอกสาร) คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

1 ตอบกลับที่ ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ 1

  1. สมชาย พูดว่า:

    ที่ นี้ ให้ ความ รู้ เนื้อ หาดีมากๆๆ ค้ะ

ใส่ความเห็น